การใช้ประโยชน์และการแปรรูป
น้ำมันปาล์มสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น สบู่ นมข้มหวาน บะหมี่สำเร็จรูป น้ำมันพืช อาหารสัตว์ กรดไขมันต่างๆ สารตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่างๆไม่ต่ำกว่า 200 ผลิตภัณฑ์ และอุตสาหกรรมโอริโอเคมิคอล รวมทั้งสามารถผลิตเป็นพลังงานทดแทน คือ ไบโอดีเซล (เมทธิลเอสเตอร์)
1. การผลิตกะทิดัดแปรจากน้ำมันปาล์ม
วิไลศรี ลิมปพยอม
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ น้ำมันปาล์มได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง งานวิจัยการผลิตกะทิดัดแปรจากน้ำมันปาล์ม เป็นงานวิจัยหนึ่งที่ได้นำน้ำมันปาล์มสเตียรินและน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า ในการผลิตเป็นกะทิดัดแปร ทดแทนกะทิซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากมะพร้าว และมีการนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหารของไทยเกือบทุกประเภท ในการประกอบอาหารคาวและหวานของไทย กะทิเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมะพร้าว มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวขุ่น ที่ได้จากการบีบอัดเนื้อมะพร้าวเป็นกะทิที่เรียกว่าหัวกะทิหรือการเติมน้ำทำให้มีทั้งหัวกะทิและหางกะทิ ซึ่งมีลักษณะเป็น อิมัลชั่นแบบน้ำมันในน้ำ(Oil in water) เพื่อให้กะทิดัดแปรจากน้ำมันปาล์ม มีสี,กลิ่น,รส และคุณภาพใกล้เคียงกับกะทิ จึงนำน้ำมันปาล์มทั้งสองชนิดมาใช้โดยได้เพิ่มคุณค่าทางอาหารคือองค์ประกอบกรดไขมันของน้ำมันปาล์มสเตียรินและน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่ผ่านการเติไฮโดรเจนมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันในน้ำมันมะพร้าว รวมทั้งการใช้สารทดแทนไขมันที่ผลิตจากคาร์โบไฮเดรท(Carbohydrate – based replacers) คือ Maltodextrin โดยได้ทดลองหาสูตรที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกะทิคือ น้ำมันปาล์มทั้ง 2 ชนิด 17-30% สารทดแทนไขมัน Maltodextrin 10-17% Emulsifier 0.5-1% สารให้ความคงตัว 0.3-0.8% ผสมด้วยน้ำกลั่นจนครบ 100% รวมทั้งสารกันหืน (Citric acid ) ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และการโฮโมจีไนซ์เพื่อให้ส่วนผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน แต่งเติมกลิ่นด้วยกลิ่นกะทิ หรือกลิ่นมะพร้าว เก็บไว้ในตู้แช่แข็ง ตรวจสอบคุณภาพและอายุการเก็บรักษา
วิไลศรี ลิมปพยอม
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ น้ำมันปาล์มได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง งานวิจัยการผลิตกะทิดัดแปรจากน้ำมันปาล์ม เป็นงานวิจัยหนึ่งที่ได้นำน้ำมันปาล์มสเตียรินและน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า ในการผลิตเป็นกะทิดัดแปร ทดแทนกะทิซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากมะพร้าว และมีการนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหารของไทยเกือบทุกประเภท ในการประกอบอาหารคาวและหวานของไทย กะทิเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมะพร้าว มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวขุ่น ที่ได้จากการบีบอัดเนื้อมะพร้าวเป็นกะทิที่เรียกว่าหัวกะทิหรือการเติมน้ำทำให้มีทั้งหัวกะทิและหางกะทิ ซึ่งมีลักษณะเป็น อิมัลชั่นแบบน้ำมันในน้ำ(Oil in water) เพื่อให้กะทิดัดแปรจากน้ำมันปาล์ม มีสี,กลิ่น,รส และคุณภาพใกล้เคียงกับกะทิ จึงนำน้ำมันปาล์มทั้งสองชนิดมาใช้โดยได้เพิ่มคุณค่าทางอาหารคือองค์ประกอบกรดไขมันของน้ำมันปาล์มสเตียรินและน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่ผ่านการเติไฮโดรเจนมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันในน้ำมันมะพร้าว รวมทั้งการใช้สารทดแทนไขมันที่ผลิตจากคาร์โบไฮเดรท(Carbohydrate – based replacers) คือ Maltodextrin โดยได้ทดลองหาสูตรที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกะทิคือ น้ำมันปาล์มทั้ง 2 ชนิด 17-30% สารทดแทนไขมัน Maltodextrin 10-17% Emulsifier 0.5-1% สารให้ความคงตัว 0.3-0.8% ผสมด้วยน้ำกลั่นจนครบ 100% รวมทั้งสารกันหืน (Citric acid ) ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และการโฮโมจีไนซ์เพื่อให้ส่วนผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน แต่งเติมกลิ่นด้วยกลิ่นกะทิ หรือกลิ่นมะพร้าว เก็บไว้ในตู้แช่แข็ง ตรวจสอบคุณภาพและอายุการเก็บรักษา
2. การวิจัยการผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อสุขภาพ โทโคฟีรอล และแคโรทีนสูง
วิไลศรี ลิมปพยอม
ในน้ำมันปาล์ม มีสารอาหารที่มีคุณค่าสูง เช่น โทโคฟีรอล โทโคไตรอีนอล ( วิตามินอี ) และแคโรทีน การลดความสูญเสียสารอาหารเหล่านี้ระหว่างกระบวนการผลิตน้ำมัน จะช่วยให้การผลิตน้ำมันปาล์มมีคุณค่าทางอาหารสูงยิ่งขึ้น โดยทั่วไปการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติ การมักใช้วิธีกลั่นใส ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง การตกตะกอนเพื่อแยกสิ่งเจือปนและสารฟอสฟาไทด์ ขั้นตอนที่สอง เป็นการฟอกสีแยกสิ่งเจือปน และในขั้นตอนสุดท้าย เป็นการกำจัดกลิ่นและกรดไขมันอิสระ ได้ทดลองใช้เทคนิค Steam deodorization ในการกำจัดกลิ่นและกรดไขมันอิสระ จากไขมันโอเลอีนของน้ำมันปาล์มดิบ โดยการแปรผันอุณหภูมิ 4 ระดับ คือ 160, 190, 220 และ 250 องศาเซลเซียส และระยะเวลา 4 ระดับ คือ 30,60 , 90, และ 120 นาที โดยใช้ไอน้ำ 2% ของน้ำหนักน้ำมัน พบว่า วิธีการต่างๆ ที่ใช้นี้ ปริมาณโทโคฟีรอล , โทโคไตรอีนอล และแคโรทีน เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทุกการทดลอง การทดลองที่อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสม เพราะมีผลทำให้ปริมาณแคโรทีนในน้ำมันลดลงเพียงร้อยละ 5 – 10 ค่ากรดไขมันและเปอร์ออกไซด์ลดลงได้ถึงร้อยละ 50 วิธีการนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในการนำไปขยายผล เพื่อผลิตน้ำมันสำหรับปรุงอาหารที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อเป็นอาหารเสริมสุขภาพ
วิไลศรี ลิมปพยอม
ในน้ำมันปาล์ม มีสารอาหารที่มีคุณค่าสูง เช่น โทโคฟีรอล โทโคไตรอีนอล ( วิตามินอี ) และแคโรทีน การลดความสูญเสียสารอาหารเหล่านี้ระหว่างกระบวนการผลิตน้ำมัน จะช่วยให้การผลิตน้ำมันปาล์มมีคุณค่าทางอาหารสูงยิ่งขึ้น โดยทั่วไปการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติ การมักใช้วิธีกลั่นใส ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง การตกตะกอนเพื่อแยกสิ่งเจือปนและสารฟอสฟาไทด์ ขั้นตอนที่สอง เป็นการฟอกสีแยกสิ่งเจือปน และในขั้นตอนสุดท้าย เป็นการกำจัดกลิ่นและกรดไขมันอิสระ ได้ทดลองใช้เทคนิค Steam deodorization ในการกำจัดกลิ่นและกรดไขมันอิสระ จากไขมันโอเลอีนของน้ำมันปาล์มดิบ โดยการแปรผันอุณหภูมิ 4 ระดับ คือ 160, 190, 220 และ 250 องศาเซลเซียส และระยะเวลา 4 ระดับ คือ 30,60 , 90, และ 120 นาที โดยใช้ไอน้ำ 2% ของน้ำหนักน้ำมัน พบว่า วิธีการต่างๆ ที่ใช้นี้ ปริมาณโทโคฟีรอล , โทโคไตรอีนอล และแคโรทีน เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทุกการทดลอง การทดลองที่อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสม เพราะมีผลทำให้ปริมาณแคโรทีนในน้ำมันลดลงเพียงร้อยละ 5 – 10 ค่ากรดไขมันและเปอร์ออกไซด์ลดลงได้ถึงร้อยละ 50 วิธีการนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในการนำไปขยายผล เพื่อผลิตน้ำมันสำหรับปรุงอาหารที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อเป็นอาหารเสริมสุขภาพ
3. การวิจัยและพัฒนาการผลิตสารโอริโอเคมิคอล
ประเทืองศรี สินชัยศรี
ในอุตสาหกรรมโอริโอเคมิคอลมีการใช้น้ำมันปาล์มในปริมาณสูงเนื่องจากคุณสมบัติโดยเฉพาะของน้ำมันปาล์มที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง จึงได้ทำการศึกษาวิจัยการพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์ โอริโอเคมิคอลให้มีคุณภาพดีขึ้น ทั้งด้านกลิ่นสมุนไพรและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยได้ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆคือ สบู่ ครีมบำรุงผิวต่างๆ
ประเทืองศรี สินชัยศรี
ในอุตสาหกรรมโอริโอเคมิคอลมีการใช้น้ำมันปาล์มในปริมาณสูงเนื่องจากคุณสมบัติโดยเฉพาะของน้ำมันปาล์มที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง จึงได้ทำการศึกษาวิจัยการพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์ โอริโอเคมิคอลให้มีคุณภาพดีขึ้น ทั้งด้านกลิ่นสมุนไพรและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยได้ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆคือ สบู่ ครีมบำรุงผิวต่างๆ
4. การใช้เอนไซม์เพิ่มปริมาณโมโนกลีเซอไรด์ในน้ำมันปาล์มและน้ำมันปาล์มสเตียริน
วิไลศรี ลิมปพยอม
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่งของประเทศ จึงมีความสำคัญที่จะต้องวิจัยและพัฒนาการ แปรรูปน้ำมันปาล์ม เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนในการผลิตน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชสำคัญที่สามารถใช้ได้ทั้งในรูปบริโภคและอุปโภค น้ำมันปาล์มมีคุณค่าทางอาหารสูงเพราะมีสารอาหารต่างๆ เช่น โทโคฟีรอล โทโคไตรอีนอล และบีต้าแคโรทีน โมโนกลีเซอร์ไรด์ เป็นอิมัลซิไฟเออร์ ที่มีการนำมาใช้สูงที่สุดในผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ประมาณมากกว่า 70 % ของอิมัลซิไฟเออร์ที่มีใช้โดยทั่วไป น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุน ในการสังเคราะห์โมโนกลีเซอร์ไรด์ จึงน่าสนใจ ในการศึกษาการสังเคราะห์สารชนิดนี้ โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันปาล์มและน้ำมันปาล์มสเตียรินจำนวน 10 ตัวอย่าง วิเคราะห์หาปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์, ไดกลีเซอร์ไรด์,โมโนกลีเซอร์ไรด์ องค์ประกอบกรดไขมัน ก่อนและหลังการทำปฎิกริยาโดยใช้เอนไซม์ Pancretin lipase เป็นตัวเร่งปฎิกริยา ระหว่าง กลีเซอร์รอลกับน้ำมันปาล์มและน้ำมันปาล์มสเตียริน พบว่ามีการเพิ่มปริมาณของโมโนกลีเซอร์และไดกลีเซอร์ไรด์ ในช่วง 40- 50 % ต่อมาทำการแยกปริมาณโมโนกลีเซอร์ไรด์กับไดกลีเซอร์ไรด์ โดยใช้เทคนิค Column Chromatography และตรวจสอบปริมาณสารทั้งสองชนิด รวมทั้งองค์ประกอบกรดไขมันโดยใช้เครื่อง Gas
วิไลศรี ลิมปพยอม
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่งของประเทศ จึงมีความสำคัญที่จะต้องวิจัยและพัฒนาการ แปรรูปน้ำมันปาล์ม เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนในการผลิตน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชสำคัญที่สามารถใช้ได้ทั้งในรูปบริโภคและอุปโภค น้ำมันปาล์มมีคุณค่าทางอาหารสูงเพราะมีสารอาหารต่างๆ เช่น โทโคฟีรอล โทโคไตรอีนอล และบีต้าแคโรทีน โมโนกลีเซอร์ไรด์ เป็นอิมัลซิไฟเออร์ ที่มีการนำมาใช้สูงที่สุดในผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ประมาณมากกว่า 70 % ของอิมัลซิไฟเออร์ที่มีใช้โดยทั่วไป น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุน ในการสังเคราะห์โมโนกลีเซอร์ไรด์ จึงน่าสนใจ ในการศึกษาการสังเคราะห์สารชนิดนี้ โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันปาล์มและน้ำมันปาล์มสเตียรินจำนวน 10 ตัวอย่าง วิเคราะห์หาปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์, ไดกลีเซอร์ไรด์,โมโนกลีเซอร์ไรด์ องค์ประกอบกรดไขมัน ก่อนและหลังการทำปฎิกริยาโดยใช้เอนไซม์ Pancretin lipase เป็นตัวเร่งปฎิกริยา ระหว่าง กลีเซอร์รอลกับน้ำมันปาล์มและน้ำมันปาล์มสเตียริน พบว่ามีการเพิ่มปริมาณของโมโนกลีเซอร์และไดกลีเซอร์ไรด์ ในช่วง 40- 50 % ต่อมาทำการแยกปริมาณโมโนกลีเซอร์ไรด์กับไดกลีเซอร์ไรด์ โดยใช้เทคนิค Column Chromatography และตรวจสอบปริมาณสารทั้งสองชนิด รวมทั้งองค์ประกอบกรดไขมันโดยใช้เครื่อง Gas
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น